จัดฟันผ่าขากรรไกร คืออะไร ดัดฟันแล้วหน้าเรียวจริงมั้ย

การผ่าตัดรักษากระดูกขากรรไกร เป็นการผ่าตัดเพื่อจัดตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรใหม่ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือปรับแต่งโครงหน้าให้มีความสมมาตรขึ้น ซึ่งอาจทำร่วมกับการจัดฟันหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาและการวินิจฉัย หากไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกัดสบฟัน ก็ไม่จำเป็นต้องจัดฟันร่วม เช่น การผ่าตัดโหนกแก้ม การตกแต่งคาง หรือการลดขนาดมุมกราม เป็นต้น

*แต่ถ้าปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับการกัดสบฟัน จะจำเป็นต้องมีการรักษาด้วยการจัดฟันร่วมด้วย ซึ่งวิธีการรักษานี้เรียกว่า จัดฟันผ่าขากรรไกร

การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognathic Surgery)               

เป็นวิธีการรักษาเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและใบหน้าให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งอาจพบความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือเป็นหลังจากผู้ป่วยมีพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีการเคี้ยวอาหาร และการพูดการออกเสียงที่ลำบาก    หรือ อาจทำให้มีอาการนอนกรน หรือ มีอาการหยุดหายใจในขณะนอนหลับได้ (sleep apnea) อีกทั้งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMJ disorder) ได้ เช่น มีอาการปวดที่ข้อต่อขากรรไกร

โดยวิธีการจัดฟันจะเป็นการปรับให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หรือเหมาะสม ส่วนการผ่าตัดโครงหน้าชากรรไกรจะเป็นการแก้ไขโครงกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยอาจจะเป็นการผ่าตัดเพียงแค่ขากรรไกรเดียว (one jaw surgery) หรืออาจจะผ่าตัดทั้งกระดูกขากรรไกรบนและล่าง (two jaws surgery) ก็ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีการกัดสบฟัน การเคี้ยว การพูดการออกเสียง และการหายใจที่เป็นปกติ รวมถึงทำให้เกิดความสวยงามของใบหน้าของผู้ป่วยอีกด้วย

การผ่าตัดร่วมกับการจัดฟันสามารถทำได้ทั้ง 2 แบบดังนี้

1.แบบจัดฟันก่อนผ่าตัด

โดยแต่ดั้งเดิมมานั้นส่วนใหญ่จะรักษาโดยการจัดฟันก่อน โดยจัดฟันปรับแก้ไขความผิดปกติของฟันก่อน จะใช้ระยะเวลามากน้อยขึ้นกับความยากง่ายซับซ้อนของแต่ละรายประมาณ 2-3 ปี ซึ่งวิธีการรักษาในลักษณะนี้ช่วงระยะเวลาที่จัดฟันอาจทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าใบหน้ามีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น รู้สึกว่าฟันล่างหรือฟันบนยื่น อูม หรือดูผิดรูปมากขึ้น เพราะต้องมีการจัดฟันให้ฟันมีมุมการเอียงตัวที่ถูกต้องก่อนการผ่าตัด ในผู้ป่วยบางรายจึงมีความรู้สึกว่าขากรรไกรล่างยื่นมากขึ้น เป็นต้น

จากนั้นจึงส่งผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง หรือขากรรไกรใดขากรรไกรหนึ่ง ที่มีความผิดปกติ และหลังจากผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยจะต้องมีการจัดฟันต่อ เพื่อปรับการเรียงตัว และการสบฟันอีกระยะหนึ่ง ประมาณ 1-2 ปี เพื่อให้การกัดสบฟันนั้นเหมาะสมและคงที่แล้ว จึงถอดเครื่องมือจัดฟันได้รวมระยะเวลารักษาทั้งหมอประมาณ 3-5 ปี

2.แบบผ่าตัดก่อนจัดฟัน        

ปัจจุบันนั้นเริ่มมีการนำวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรก่อนแล้วจึงจัดฟันมารักษาผู้ป่วยมากขึ้น โดยผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรก่อน แล้วจึงแก้ไขความผิดปกติของฟันภายหลัง ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ ระยะเวลาในการจัดฟันจะสั้นลง เนื่องจากใช้ทฤษฎีที่เชื่อว่าการผ่าตัดจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนที่ของฟันได้เร็วขึ้น จึงทำให้การผ่าตัดก่อนการจัดฟันใช้ระยะเวลาในการจัดฟันแล้วเสร็จ 6 เดือน ถึง 2 ปี ตามความยากง่ายของความผิดปกติในแต่ละราย และข้อดีที่เป็นผลพลอยได้ที่สำคัญอีกประการคือ ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปหน้าให้เหมาะสมสวยงามขึ้นได้เลยก่อนการจัดฟัน

*แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีไหนก็ตามควรได้รับการตรวจวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทาง และควรมีการตรวจและวางแผนร่วมกันก่อนการรักษาโดยทีมแพทย์ทั้งผ่าตัดและจัดฟัน

ผู้ที่เหมาะกับการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร

  •  คางสั้น (Retrognathism) 
  •  ยิ้มเห็นฟัน ฟันยื่น ฟันเหยิน (Maxillary excess,Gummy Smile) 
  •  ขากรรไกรไม่สมมาตร (Jaw asymmetry) 
  •  ปากหรือคางยื่น (Prognathism)
  •  ยิ้มเห็นเหงือก (Gummy smile) 
  •  มุมกรามใหญ่ (Large Mandible Angle) 

แน่นอนว่าต้องเป็นคนที่มีความผิดปกติที่กระดูกขากรรไกรเท่านั้น และควรเป็นระดับที่รุนแรงจนส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิตตามปกติด้วย เช่น เมื่อขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้การเรียงตัวของฟันไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น และไม่สามารถแก้ไขด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียวได้

Jaw Malocclusions

การสบฟันที่ผิดปกติที่เกิดจากความผิดปกติของขากรรไกรร่วมด้วย (Jaw Malocclusions) เช่น มีขนาดของขากรรไกรบนและล่างที่ไม่ได้สัดส่วนกัน หรือตำแหน่งอยู่ต่างกันมาก จากการจำแนกความผิดปกติของการสบฟัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของฟันที่สัมพันธ์กับกระดูกบริเวณขากรรไกร ซึ่งจำแนกเป็น 3 ประเภทคือ Class , Class 2  และ Class 3

jaw occlusions

Class 1

มีการเจริญเติบโตของฟันบนและฟันล่างปกติ หรือขากรรไกรบนและล่างอยู่ในตำแหน่งที่ปกติการสบฟันปกติ

protruded upper jaw

Class 2

มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติมีฟันบนครอบฟันล่างมากๆ หรือฟันบนยื่นมากๆ หรือขากรรไกรล่างมีขนาดเล็กผิดปกติ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ถอยไปด้านหลังมากเมื่อเทียบกับขากรรไกรบน

protruded lower jaw

Class  3

มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติมีฟันล่างครอบฟันบน หรือขากรรไกรล่างมีขนาดยาวผิดปกติเมื่อเทียบกับขากรรไกรบน

การผ่าตัดร่วมกับการจัดฟันสามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ คือแบบจัดฟันก่อนผ่าตัด หรือแบบผ่าตัดก่อนการจัดฟัน เพื่อการเรียงฟันในแต่ละขากรรไกรเสร็จสมบูรณ์ และกระดูกขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและมีรูปร่างที่เหมาะสม ฟันก็จะถูกจัดเรียงจนกระทั่งได้การสบฟันที่สมบูรณ์

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ของเรามีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านการจัดฟันสำหรับการผ่าตัดโดยเฉพาะ ทำงานร่วมกันกับศัลยแพทย์ผ่าตัดผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระดับต้นของประเทศ ตั้งแต่ต้น ต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

รับคำปรึกษาฟรี

ทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อวางแผนการรักษา และเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับตัวคุณกับทันตแพทย์ของเรา โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆสำหรับการเริ่มการรักษา 

การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร

การวางแผนรักษาก่อนและหลังการจัดฟันและการผ่าตัดขากรรไกร จะถูกวางแผนโดยทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ผ่าตัดขากรรไกรหรือ ศัลยแพทย์ช่องปากแม็กซิลโลเฟเชียล แพทย์ทั้งสองจะทำงานประสานงานกันในการวางแผนในการรักษาตั้งแต่ต้นและต่อเนื่องจนสิ้นสุดการรักษา เนื่องจากการผ่าตัดขากรรไกรเป็นการผ่าตัดตัดที่ยากและซับซ้อน ซึ่งอาจครอบคลุมหลายปีต้องใช้เวลาในการวางแผนการรักษาและการผ่าตัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้บริการการรักษากับทีมทันตแพทย์ผู้มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญมากที่สุดที่ ที่โรงพยาบาลทันกรรม BIDH 

ขั้นตอนการรักษา จัดฟันผ่าขากรรไกร

ก่อนการรักษาจำเป็นต้องมีการซักประวัติ ตรวจภายในและภายนอกช่องปาก x-ray ถ่ายรูป รวมถึงพิมพ์ปากเพื่อนำไปทำแบบจำลองฟัน จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และวางแผนการรักษาซึ่งเป็นการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ทันตแพทย์จัดฟัน และศัลยแพทย์ช่องปากในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • ลักษณะความผิดปกติของผู้ป่วย
  • แผนการรักษา
  • ค่าใช้จ่าย
  • ประโยชน์ที่จะได้รับ
  • ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
  • ระยะเวลาในการรักษา
  • ความคาดหวังของผู้ป่วย

โดยการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ผู้รักษาร่วมกับความต้องการของผู้ป่วย

dental x-ray

ขั้นตอนที่ 1 : วางแผนการรักษา 

คุณจะพบกับทันตแพทย์จัดฟันคนแรกก่อนเริ่มกระบวนการรักษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการซักประวัติ ตรวจภายในและภายนอกช่องปาก x-ray ถ่ายรูป รวมถึงพิมพ์ปากเพื่อนำไปทำแบบจำลองฟัน จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหาการสบฟัน และวางแผนการรักษาถ้าหากมีความจำเป็นต้องเลือกการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ทันแพทย์จัดฟันจะประสานงานและทำงานร่วมกันกับทันตแพทย์ศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อยืนยันแผนการรักษาของผู้ป่วยไปในทิศทางเดียวกัน 

bangkok dentists

ขั้นตอนที่ 2 : จัดฟัน (ก่อนการผ่าตัด)

ทันตแพทย์จัดฟันจะเริ่มจัดฟัน เพื่อเตรียมฟันให้อยู่ในสภาพที่ดี โดยใช้เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นเพื่อจัดตำแหน่งฟันแต่ละขากรรไกรไปในตำแหน่งที่สัมพันธ์กับขากรรไกรนั้นๆ ให้รับกับการสบฟันในอนาคต  ขั้นตอนการจัดฟันนี้จะใช้ระยะเวลา 1-2 ปี ความช้าเร็วในการจัดฟันของแต่ละคนจะนานมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับความรุนแรงของปัญหา และสภาพฟันและแผนการรักษาในผู้ป่วยเฉพาะรายไป

ขั้นตอนที่ 3 : เตรียมการก่อนการผ่าตัด

หลังจากผ่านขั้นตอนจัดฟันเรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการผ่าตัด การผ่าตัดขากรรไกรเป็นการผ่าตัดใหญ่ ต้องมีการดมยาสลบ จึงควรทำในสถานพยาบาลที่ปลอดภัย เช่น ใน รพ. ที่มีทีมวิสัญญี และอุปกรณ์ที่พร้อมก่อนผ่าจะต้องเตรียมคนไข้ให้พร้อมทั้งในเรื่องการเตรียมตัวก่อนผ่า การพิมพ์ปาก เอกซเรย์ รวมถึงทำเฝือกสบฟันสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด

dental hospital

ขั้นตอนที่ 4 : การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร

การผ่าตัดจะเริ่มเมื่อการจัดฟันก่อนการผ่าตัดเสร็จสมบูรณ์ ก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการตรวจลักษณะโครงสร้างใบหน้าและการสบฟันอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อสรุปแผนการผ่าตัดครั้งสุดท้ายร่วมกับผู้ป่วย ก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นซึ่งขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่นการตรวจนับเม็ดเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจภาพรังสี เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเตรียมผู้ป่วยก่อนการให้ยาสลบทั่วไป การผ่าตัดปกติจะใช้เวลาประมาณ 2-5 ชั่วโมงขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด โดยปรกติผู้ป่วยจะอยู่ในโรงพยาบาล 2-5 วันก่อนที่จะกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์

care of braces

ขั้นตอนที่ 5 : จัดฟัน (หลังการผ่าตัด) 

หลังการผ่าตัด 4-6 สัปดาห์ผู้ป่วยจะได้รับการส่งต่อไปยังทันตแพทย์จัดฟัน และปรับแต่งการเรียงตัวของฟันให้เข้ากับรูปร่างและตำแหน่งกระดูกขากรรไกรใหม่หลังการผ่าตัด เป็นการจัดฟันครั้งที่ 2 ขั้นตอนนี้ใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนจึงถือว่าสิ้นสุดการรักษา

ขั้นตอนที่ 6 : การถอดเครื่องมือจัดฟัน และใส่รีเทนเนอร์ 

หลังจากการรักษาเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว จะมีการถอดเครื่องมือจัดฟัน และใส่รีเทนเนอร์ซึ่งจะทำหน้าที่คงสภาพฟัน ให้อยู่เหมือนเดิมหลังจากจัดฟัน ไม่ให้ฟันเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม ซึ่งคนที่ถอดเหล็กจัดฟันออกแล้ว ต้องใส่รีเทนเนอร์ไว้อย่างต่อเนื่อง ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ หากหลงลืม หรือไม่ใส่ใจ  ก็จะทำให้เกิดฟันล้ม ฟันเก ฟันห่างได้ ทำให้ต้องไปจัดฟันอีกรอบ 

สรุป

การจัดฟัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ฟันอย่างเดียว สาเหตุหนึ่งมากจากความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรร่วมด้วย เช่น ขากรรไกร ล่าง-บน ยื่น สั้น เบี้ยว ผิดรูปทำให้การจัดฟันอย่างเดียวไม่สามารถช่วยได้พอในการแก้ปัญหา อาจจะต้องใช้การผ่าตัดร่วมด้วยกับการจัดฟัน ซึ่งปัจจุบัน การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ค่อนข้างได้รับความสนใจอย่างมากเพราะสามารถช่วยแก้ไขการสบฟันผิดปกติและ สามารถช่วยเสริมสร้างความสวยงามให้กับใบหน้าได้ ดังนั้นก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษาควร ศึกษาข้อมูลและวางแผนการดูแลตัวเองร่วมด้วย เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ และเพื่อความ ปลอดภัย ควรเข้ารับการรักษาจากทีมทันตแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น  

การรักษาด้วยวิธีศัลยกรรมกระดูกขากรรไกรใช้เวลา จนสิ้นสุดการรักษาซึ่งใช้ระยะเวลานานหลายปี การรักษาด้วยวิธีนี้ค่อนข้างจำเพาะและประกอบขั้นตอนต่างๆหลายขั้นตอน ที่สำคัญคือเมื่อเริ่มการรักษาจะเป็นการยากที่จะย้อนกลับการรักษาหรือ เปลี่ยนเป็นการรักษาชนิดไม่ผ่าตัด ดังนั้นหากเริ่มทำการรักษาจึงควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินตามแผนที่ได้วางไว้แต่ แรกจนสิ้นสุดการรักษา สิ่งที่ผู้ตัดสินใจเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้ พึงตระหนักคือการรักษานี้มีขั้น ตอนและใช้เวลาในการรักษาโดยรวมค่อนข้างนาน ดังนั้นความเข้าใจในรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนการรักษาและความร่วมมือของผู้ป่วย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพึงพอใจทั้งการสบฟัน ที่ดีและโครงสร้างใบหน้าใหม่ที่สวยงามสมดุล

ทางโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ของเราเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้คุณมั่นใจได้ว่า คุณจะได้รับการดูแลรักษาจากทีมทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ที่เชี่ยวชาญด้าน ผ่าตัดขากรรไกร ร่วมกับทันตแพทย์จัดฟันเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ทำเคสแบบนี้โดยเฉพาะ ด้วยมาตรฐานโรงพยาบาลและความปอดภัยของผู้ป่วย